Wednesday, December 16, 2009

หลักการสรรหาบุคลกร


โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ระบบคือ
1.ระบบคุณธรรม(Merit System)มีลักษณะเด่น4 ประการคือ
- หลักความสามารถ (Competence)
- หลักความเสมอภาค(Equality of opportunity)
- หลักความมั่นคง(Security of tenure)
- หลักความเป็นกลางทางการเมือง(Political neutrality)
2.ระบบอุปถัมภ์ (Patronage system)เป็นระบบที่มีลักษณะเกือบจะตรงข้ามกับระบบคุณธรรม เป็นการใช้วิจารณาญาณในการพิจารณาบุคคลที่รู้จักหรือญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูง จึงขาดเหตุผลที่จะทำให้เชื่อได้ว่าการสรรหาบุคลากรระบบนี้ดี
จะเห็นได้ว่าระบบคุณธรรมนั้นเป็นหลักที่ดี ยุติธรรม เอื้อต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานว่า จะได้คนมีความรู้ ความสามารถเข้ามาปฎิบัติงาน และเป็นหลักประกันต่อบุคคลผู้ทำงานว่าจะมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน


การสรรหาจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

1.การสรรหาจากภายใน เป็นการเลือกสรรจากผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่แล้วภายในหน่วยงานเดียวกัน โดยการสับเปลี่ยน โยกย้าย เลื่อนขั้น หรือส่งคนไปอบรม วิธีการสรรหาแบบนี้มีข้อดีและข้อเสีย คือ

ข้อดี ข้อเสีย
1.ทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจดี 1.มีโอกาสเลือกคนดีได้ในวงจำกัด
2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสรรหาแรงงาน 2.ถ้ามีการขยายงาน อาจทำให้เกิดการขาดแคลนคน
3.ย่นระยะเวลาในการสรรหา 3.ผู้สมัครที่เหมาะสมมีจำนวนจำกัด
4ได้คนที่รู้นโยบายขององค์กรดีไม่ต้องฝึกอบรม 4.การสับเปลี่ยนทำให้งานที่ดำเนินอยู่ชงัก






2.การสรรหาจากบุคคลภายนอก เป็นการรับสมัครจากคนที่อยู่ภายนอกองค์การ โดยพยายามแสวงหาบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาทำงาน มีทั้งข้อดีและข้อเสียคือ

ข้อดี ข้อเสีย

1.มีโอกาสคัดคนที่เหมาะสมจากแหล่งต่างๆ 1.เป็นการทำลายขวัญและกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน
2.แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรภายในองค์การ 2.สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย ในการสรรหา
3.กระตุ้นคนในองค์กรให้เกิดความกระตือรือร้น 3.ใช้เวลาในการปรับตัวและเรียนรู้ในองค์การ

ในทางปฏิบัติจะพบว่า องค์การส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสรรหาทั้งสองวิธีการควบคู่กันไป ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การในภาพรวมมากที่สุด

No comments:

Post a Comment